การทำสบู่ขั้นพื้นฐาน |
|
การทำสบู่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีคนสนใจกันมากทีเดียว เพราะเป็นเรื่องใกล้
ๆ ตัวที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้ว และการทำก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก
อีกทั้งสามารถทำให้เป็นรูปแบบต่างๆได้ตามต้องการ
และสามารถปรับเปลี่ยนให้มีความสวยงาม และกลิ่นหอม
เหมาะที่จะใช้นำไปเป็นของขวัญหรือของฝาก
ซึ่งขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์และไอเดียของแต่ละท่านในการปรุงแต่งเป็นรูปแบบต่างๆ
และถ้าใครมีฝีมือเรื่องการหีบห่อ
ก็ทำให้สบู่ที่ทำกลายเป็นสินค้ามีคุณค่ามีราคาขึ้นมาทีเดียวเลยค่ะ...
ในการทำสบู่ก็มีข้อควรระวังอยู่บ้างค่ะเพื่อความปลอดภัย
เพราะในการทำต้องมีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง
(โปรดอ่านคำแนะนำตอนท้ายก่อนเริ่มทำค่ะ)
สำหรับสูตรสบู่พื้นฐานที่เรานำมาเสนอในครั้งนี้ก็มีน้ำมันมะพร้าว
ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีประโยชน์มากไม่ว่าจะสำหรับบริโภคหรือเสริมความงามต่างๆ
มาเป็นส่วนผสมอยู่ในสูตรของเราด้วยค่ะ....ลองทำตามเราดูสิคะ
;))
***อยากทราบว่าน้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
เชิญดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ
|
|
สิ่งที่ต้องเตรียม |
|
lอุปกรณ์ทำสบู่พื้นฐาน |
|
1.
น้ำมันปาล์ม |
2.
น้ำมันมะพร้าว |
3.
น้ำมันงาดิบ |
4.
สีผสมอาหาร |
5.
น้ำมันหอมระเหย |
6.
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (เกล็ดโซดาไฟ) |
7.
ชามอ่างสแตนเลส หรือชามแก้ว |
8. แก้วทนความร้อน |
9.
ไม้พาย |
10. เทอร์โมมิเตอร์ |
11. ถ้วยตวง, ช้อนตวง, ถุงมือยาง |
12. แม่แบบสบู่ , พิมพ์กด หรือ พิมพ์ยางซิลิโคน |
|
สูตรสบู่พื้นฐาน
|
|
1. น้ำมันปาล์ม
5 ออนซ์ หรือ
ประมาณ 154 กรัม |
2.
น้ำมันมะพร้าว
5 ออนซ์ หรือ ประมาณ
145 กรัม |
3. น้ำมันงาดิบ
2 ออนซ์ หรือ
ประมาณ
60 กรัม |
4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 1.9 ออนซ์ หรือ
ประมาณ 55 กรัม |
5.
น้ำเปล่า
4.43 ออนซ์ หรือ ประมาณ 130 กรัม |
6. น้ำมันหอมระเหย 5-10 หยด |
|
วิธีทำ |
|
|
การสบู่พื้นฐานไปใช้งาน |
|
1. เตรียมภาชนะหม้อสแตนเลส |
2. แก้วทนความร้อน |
3. สบู่พื้นฐาน |
4. ที่ขูดผลไม้ |
5. ไม้พาย |
6. สีผสมอาหาร |
7. น้ำมันหอมระเหย |
8. พิมพ์กด หรือ
พิมพ์ถ้วย,พิมพ์ยางซิลิโคน |
9. ไม้ปลายแหลม |
10. เชือก |
|
วิธีทำ |
|
|
|
|
|
|
1.นำสบู่พื้นฐานที่ผลิตขึ้น มาขูดให้เป็นผงหรือชิ้น
ด้วยที่ขูดผลไม้ให้ได้ผงสบู่ 2 ถ้วยตวง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2.เทน้ำสะอาด
ครึ่งถ้วยลงในหม้อสแตนเลสตั้งไฟ
แล้วใส่แก้วทนความร้อนที่มีผงสบู่ใน ข้อที่ 1 ลงไป |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
3.
เติมน้ำลงไปในเนื้อสบู่นิดหน่อยปล่อยให้สบู่ละลาย คนเบา
ๆ
และไม่ต้องคนบ่อยเพื่อไม่ต้องการให้เกิดฟองในเนื้อสบู่ยกลงจากเตา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
4.
หยดสีผสมอาหารลงไปตามชอบ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
5.
หยดน้ำมันหอมระเหย 4-5
หยด แล้วคนให้เข้ากัน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
6.
นำใส่พิมพ์ ทำไว้หลาย ๆ สี หลาย ๆ รูปแบบรอให้สบู่แข็งตัว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
7.
นำสบู่ที่เป็นลูกกลม ๆ เจาะรูตรงกลางและนำเชือกมาร้อยผูกปมให้เข้ากัน
แล้วนำไปแขวนในห้องน้ำก็สวยงามดีค่ะ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
8.
สบู่แฟนซีรูปแบบต่างๆดังในภาพสมารถนำมาใช้หรือมอบเป็นของขวัญตามเทศกาล ต่าง ๆ
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ทางทีมงานนำเสนอค่ะ.... |
|
|
|
|
| |
ข้อแนะนำ |
|
ข้อควรระวังในการทำสบู่
-
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสบู่หลายๆอย่างหาได้จากในครัว
แต่ต้องจำไว้ว่าเมื่อนำมาผลิตสบู่แล้วจะนำมาปรุงอาหารอื่นๆไม่ได้อีก
และเนื่องจากโซเดียมไฮดรอกไซด์จะทำปฏิกิริยากับอลูมิเนียม
ดีบุก สังกะสี และโลหะอื่นๆ จึงไม่ควรนำมาใช้ในการผลิตสบู่
เนื่องจากสามารถออกฤทธิ์ในการกัดทำลายโลหะได้
ในการผสมส่วนผสมต่างๆลงในภาชนะนี้ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ -
อย่าเทน้ำลงในโซเดียมไฮดรอกไซด์
ให้ค่อยๆเทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ เพราะเมื่อโซเดียม
ไฮดรอกไซด์ถูกผสมกับน้ำที่อุณหภูมิปกติ
อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นทันทีทันใดจนเกือบถึง 100 องศาเซลเซียส
หรือประมาณ 90 95 องศาเซลเซียส
ถ้าเทน้ำลงในโซเดียมไฮดรอกไซด์อาจทำให้เกิด จุดร้อนแรง
( hot spot ) ซึ่งสามารถหลอมละลายภาชนะได้
หรืออาจเกิดการระเบิดได้ จึงควรค่อยๆเทโซเดียม
ไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ -
อย่าใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในภาชนะอลูมิเนียม
เนื่องจากจะกัดอลูมิเนียม -
ขณะที่ทำการผลิตสบู่ควรสวมถุงมือยางและรองเท้า
หากใส่เสื้อผ้าปกปิดผิวหนังได้มากที่สุดจะเป็นการดี
ใส่ผ้าปิดจมูกหรือว่าตาก็จะดีมาก -
อย่าให้เด็กๆหรือสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ๆขณะใช้โซเดียมไฮเดียมไฮดรอกไซด์ -
อย่าสูดไอระเหยของโซเดียมไฮดรอกไซด์
ควรผลิตสบู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี -
ควรมีน้ำส้มสายชูไว้ใกล้ๆ
เพื่อทำให้โซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นด่างมีความเป็นกลางจะได้ไม่กัดกร่อน
หากกระเด็นถูกผิวหน้าหรือร่างกาย
หลังจากล้างด้วยน้ำส้มสายชูแล้วให้ล้างด้วยน้ำเย็นออกให้หมด -
หากเกิดอุบัติเหตุกลืนกินโซเดียมไฮดรอกไซด์
ให้รีบดื่มนมแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน -
เก็บโซเดียมโฮดรอกไซด์ไว้ในที่ปลอดภัยจากมือเด็กและไม่ควรเปิดถุงไว้
ปิดให้สนิท และเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดอีกชั้นหนึ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วารสาร เกษตรกรรมธรรมชาติ
การคำนวณสูตรสบู่
สบู่เกิดจากการทำปฏิกริยาระหว่างไขมัน ด่างและน้ำ
ที่อุณหภูมิที่เหมาะสมดังสมการ
ไขมัน + สารละลายด่าง
è
สบู่ + กลีเซอลีน
-
ขั้นตอนการตั้งสูตรสบู่
เริ่มจากการเลือกชนิดของไขมันหรือน้ำมันที่จะใช้ทำสบู่
ไขมันหรือน้ำมันแต่ละชนิดจะทำให้ได้สบู่ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
ในการทำสบู่แต่ละครั้งสามารถเลือกใช้น้ำมันเพียงชนิดเดียว
หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้เพื่อให้ได้สบู่ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
ส่วนปริมาณของน้ำมันที่จะใช้ผลิตสบู่
ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะผลิตสบู่มากน้อยเพียงใด
-
ด่างที่จะใช้ในการทำสบู่แข็ง จะใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์
(NaOH) ส่วนปริมาณของด่างที่จะใช้ขึ้นอยู่กับค่า
Saponification ของน้ำมันแต่ละชนิด ค่า Saponification คือ
ปริมาณของด่างที่ทำปฏิกริยาพอดีกับไขมัน (หนัก 1 กรัม)
ค่า Saponification
หรือปริมาณของด่างที่ทำปฏิกริยาพอดีกับไขมันชนิดต่าง ๆ
(ไขมันหนัก 1 กรัม)
ไขมันหรือน้ำมัน (1 กรัม) |
โซเดียมไฮดรอกไซด์
(NaOH) |
ไขมันวัว |
0.1292 |
ไขมันหมู |
0.1276 |
น้ำมันมะพร้าว |
0.169 |
น้ำมันปาล์ม |
0.1306 |
น้ำมันมะกอก |
0.1246 |
น้ำมันรำข้าว |
0.1233 |
น้ำมันเมล็ดทานตะวัน |
0.1256 |
น้ำมันถั่วเหลือง |
0.1246 |
น้ำมันละหุ่ง |
0.1183 |
น้ำมันงา |
0.1266 |
น้ำมันข้าวโพด |
0.126 |
ขี้ผึ้ง |
0.0617 |
ตัวอย่าง
-
ถ้าใช้น้ำมันมะพร้าว 300 กรัม จะใช้ NaOH = 0.169 x
300 = 50.7 กรัม
-
ถ้าใช้น้ำมันปาล์ม 300 กรัม จะใช้
NaOH = 0.13 x 300 = 39 กรัม
-
ถ้าใช้น้ำมันงา
400 กรัม จะใช้ NaOH = 0.126 x 400 = 50.4 กรัม
ดังนั้นถ้าใช้น้ำมัน 3 ชนิด (น้ำมันมะพร้าว 300 กรัม
น้ำมันปาล์ม 300 กรัม น้ำมันงา 400 กรัม)
รวมกันเป็น 1,000 กรัม จะต้องใช้ NaOH เท่ากับ 50.7 + 39 +
50.4 เท่ากับ140.1 กรัม
-
น้ำ ที่ใช้ละลาย ด่างควรเป็นน้ำฝน น้ำประปา หรือน้ำกรอง
ไม่ควรใช้น้ำบ่อ หรือน้ำบาดาล
ปริมาณน้ำที่ใช้ละลายด่าง หาได้จากสูตรดังต่อไปนี้
น้ำหนัก = (น้ำหนักด่าง x 3.33) - น้ำหนักด่าง
จากตัวอย่าง = (140.1 x 3.33) - 140.1 = 326.43 กรัม
น้ำหนักน้ำที่ใช้ละลายด่างจากตัวอย่าง คือ 326.43 กรัม
|