สูตรน้ำยาต่างๆ |
|
|
มาตราชั่งตวง
การชั่งตวงเป็นหลักการเบื้องต้นของการให้ได้มาซึ่งปริมาณสารที่เหมาะสมที่จะใช้ในการผลิตการชั่ง
ตวง
ที่ถูกต้องเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอตรงความต้องการ
ผู้ผลิตจึงควรจะมีความรู้พื้นฐานในการชั่ง
ตวง เป็นอย่างดี
มาตราชั่ง ตวงมีหลายมาตรา
เช่น มาตราเมตริก (Metricsystems)
และมาตราอังกฤษ (English systems)
สำหรับประเทศไทยนิยมใช้มาตราชั่ง
ตวงในระบบเมตริก
ดังนั้นสูตรต่าง ๆ
ที่ใช้เป็นหน่วยของมาตราเมตริกเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามผู้ผลิตควรจะเรียนรู้วิธีการเปรียบเทียบมาตราชั่ง
ตวงต่างระบบกัน
ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตอาจมีสูตรพื้นฐานในมาตราหน่วยอื่น
ๆ
ซึ่งต้องการเปลี่ยนให้อยู่ในหน่วยที่จะสามารถชั่งตวงได้อย่างสะดวก
|
มาตราชั่ง |
มาตราเมตริก |
1 |
กิโลกรัม
(kilogram, kg) |
=
1000 |
กรัม
(gram, g) |
1 |
กรัม |
=
1000 |
มิลลิกรัม
(milligram, mg) |
สำหรับชาวบ้านทั่วไปจะใช้หน่วยเป็น
"ขีด"
ซึ่งสามารถเปรียบเทียบเป็นหน่วยในมาตราเมตริกได้ดังนี้
1 |
กิโลกรัม |
=
10 |
ขีด |
1 |
ขีด |
=
100 |
กรัม |
มาตราอังกฤษ
(Avoirdupois) |
1 |
ปอนด์
(pound lb) |
=
16 |
ออนซ์ (ounce.oz.) |
1 |
ออนซ์ |
=
437.5 |
เกรน
(grain. gr) |
เปรียบเทียบมาตราเมตริก
กับ อังกฤษ
1 |
กิโลกรัม |
=
2.2 |
ปอนด์ |
1 |
ปอนด์ |
=
454.0 |
กรัม |
1 |
ออนซ์ |
=
28.4 |
กรัม |
|
1 |
ลิตร
(liter , l) |
=
1000 |
มิลลิลิตร
(milliliter , ml) |
1 |
มิลลิลิตร |
=
1 |
ซีซี
(c.c.) |
การเปรียบเทียบมาตรา |
1 |
แกลลอน
(British Imperial) |
=
4.55 |
ลิตร |
1 |
แกลลอน (US
Liquid Measure) |
=
3.79 |
ลิตร |
1 |
แกลลอน (US
Liquid Measure) |
=
4 |
ควอท |
1 |
ควอท |
=
2 |
ไพน์ (pint) |
1 |
ไพน์ |
=
2 |
ถ้วย |
1 |
ถ้วย
(fluidounce, Fluid oz.) |
=
8 |
ออนซ์ |
1 |
ออนซ์ (Fluid
oz.) |
=
2 |
ช้อนโต๊ะ
(ช.ต.) |
1 |
ออนซ์ (Fluid
oz.) |
=
30 |
มิลลิลิตร |
1 |
ช้อนโต๊ะ |
=
3 |
ช้อนชา (ช.ช.) |
1 |
ช้อนโต๊ะ |
=
15 |
มิลลิลิตร |
1 |
ช้อนชา |
=
5 |
มิลลิลิตร |
ข้อควรระวัง
1. หน่วย ช้อนโต๊ะและช้อนชา
ในที่นี้ไม่ใช่ช้อนโต๊ะที่ใช้รับประทานอาหาร
หรือช้อนชาที่ใช้ชงกาแฟ
ช้อนโต๊ะที่ใช้รับประทานอาหาร
นั้นจะมีปริมาตรบรรจุเพียง 8-15
มิลลิลิตร (ขึ้นอยู่กับขนาดของช้อน)
และช้อนชาที่ชงกาแฟจะมีขนาดเพียง
3 มิลลิลิตร เท่านั้น
ดังนั้นควรใช้ช้อนตวงมาตรฐานที่ใช้สำหรับการตวงโดยเฉพาะ
โดยอาจใช้ช้อนตวงมาตรฐานที่ใช้ทำอาหารทดแทนกันได้
2. หน่วยของออนซ์ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งหน่วยของน้ำหนัก
(เป็น oz.) และหน่วยของปริมาตร (เป็น
Fluid oz.) ซึ่งมีค่าไม่เท่ากัน
และไม่ควรใช้สลับกัน
3. หน่วยของแกลลอนก็มีอยู่ 2
ชนิด คือ อังกฤษ
และอเมริกาซึ่งก็มีปริมาตรที่ต่างกันอีกด้วย
|