ดิน Sumo

งานปั้นจากดินซูโม่

สบู่ดิบใส

ชุดคิทเพื่อการศึกษาทดลอง

 
 
 
 
  เกษตร 

 

การผลิตชาตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม

            สมพล นิลเวศน์
นักวิชาการเกษตร 8.
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                                                                                                            

 

      

      การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับชา เพื่อให้มีคุณภาพผลผลิต และผลิตภัณฑ์ชาตรงตามมาตรฐานสากล   เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามได้และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการสวนจะต้องมีความจริงใจใจกิจกรรมที่กำหนด โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดการสวนดังจะได้กล่าวต่อไป

การจัดการเพื่อให้ได้ชาที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานสากล

สภาพพื้นที่

  • ชาที่นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาคุณภาพดี ควรปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล  700 เมตร ขึ้นไป

  • สำหรับสวนชาขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องจักรในการดำเนินการ ควรมีพื้นที่ลาดเอียงไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ถ้าลาดเอียงมากกว่า  15 เปอร์เซ็นต์  ควรทำขั้นบันได โดยให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 150 เซ็นติเมตร

ลักษณะดิน

  • ดินร่วนทรายมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ชั้นของหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 เซนติเมตร

  • ความเป็นกรด – ด่าง 4-6

สภาพภูมิอากาศ  : ชามีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ต้องการอุณหภูมิ  ค่อน
           ข้างเย็น

  • อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส

  • ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศไม่ต่ำกว่า  75  เปอร์เซ็นต์

  • มีปริมาณน้ำฝนอย่างน้อยเฉลี่ยปีละ 1,200 มิลลิเมตรต่อปี  

พันธุ์ 

  • พันธุ์ชาที่แบ่งตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ประกอบด้วย 3 กลุ่มพันธุ์  ดังนี้

  1. กลุ่มพันธุ์ชาจีน (C. sinensis var. sinensis)

  2. กลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม (C. sinensis var. assamica)

  3. กลุ่มพันธุ์ชาเขมร (C. sinensis var. Indo-china)

  • สำหรับการแบ่งกลุ่มตามประโยชน์ในทางการค้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ

  1. กลุ่มชาจีน (China tea) เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับใช้แปรรูปเป็นชาใบ เช่น ชาเขียว    ชาจีน

  2. กลุ่มชาอัสสัม (Assam tea) เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับใช้ยอดชาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาฝรั่ง

  3. กลุ่มชาลูกผสม (Hybrid tea) จัดเป็นกลุ่มที่มีปริมาณมากที่สุด เนื่องจากชาเป็นพืชผสมข้าม จึงทำให้ชาที่ปรากฏโดยทั่วไปเป็นชาลูกผสมระหว่างกลุ่มพันธุ์ชาทั้งสามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น สำหรับการใช้ประโยชน์จากชากลุ่มนี้ สามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาได้ทั้งชาใบและชาฝรั่ง ส่วนชาเขมร (Indo-china tea) จัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีประโยชน์ในทางการค้า แต่จะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ชาเป็นหลัก

  • พันธุ์ชาที่เหมาะสำหรับใช้ปลูกเพื่อแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

  1. พันธุ์ชาสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาใบ (ชาเขียว, ชาจีน)

    สำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาจีน ได้แก่ สายพันธุ์ชินชิง เบอร์ 12, สายพันธุ์อู่หลงก้านอ่อน, สายพันธุ์ชินชิงอู่หลง, สายพันธุ์สี่ฤดู, สายพันธุ์ทิกวนอิม

    สำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาเขียว ได้แก่ สายพันธุ์ยาบูกิตะ, สายพันธุ์ซายามะคาโอริ, สายพันธุ์โออิวาเสะ, สายพันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 3, สายพันธุ์ฝาง เบอร์ 4, สายพันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 2

  2. พันธุ์ชาสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาฝรั่ง (ชาดำ หรือชาแดง)

    ได้แก่พันธุ์ชาในกลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม เช่น สายพันธุ์อัสสัมใบจาง  สายพันธุ์อัสสัมใบเข้ม สายพันธุ์ลูไฉ่
     

แหล่งน้ำ

ควรเป็นพื้นที่ให้น้ำได้ในช่วงฤดูแล้ง

การปลูกและดูแลรักษา

  1. การเลือกพื้นที่สร้างสวนชา
    พื้นที่ ๆ เหมาะสำหรับปลูกชา ควรมีดินที่ระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุสูง ค่าความเป็นกรด-ด่าง
    (pH) เท่ากับ 4-6  และต้องมีแหล่งน้ำสำหรับชาในฤดูแล้ง

  2. การเตรียมพื้นที่ปลูกและการย้ายปลูก

  • มีการกำจัดวัชพืชเลือกพื้นที่ได้แล้วจะต้องทำการแผ้วถางวัชพืชออก อาจจะเหลือต้นไม้ขนาดใหญ่ไว้เป็นร่มเงาชาก็ได้ ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันควรทำขั้นบันได(กว้างไม่น้อยกว่า 150 ซม.) หรืออาจจะปลูกตามแนวระดับโดยไม่ขุดเป็นขั้นบันไดก็ได้ โดยให้ระยะระหว่างแถวปลูกประมาณ 2 ม.

  • สำหรับแหล่งปลูกที่เป็นพื้นราบ หรือบนที่ลาดชันที่มีการขุดขั้นบันได ทำการเตรียมหลุม โดยขุดเป็นร่องกว้าง 40 ซม. ลึก 40 ซม. ให้ระยะระหว่างร่องห่างกันประมาณ 180 ซม.(สำหรับพื้นที่ราบ) และให้ขุดเป็นร่องเดี่ยวกลางแนวขั้นบันได(สำหรับบนที่ลาดชันที่มีการขุดขั้นบันได) และขุดเป็นหลุมเดี่ยวขนาด 40x40 ซม.(เมื่อไม่ขุดขั้นบันได) ต้องถากเอาวัชพืชคลุกกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยรองก้นหลุมลงกลบไว้ในหลุมปลูก (เตรียมหลุมปลูกก่อนย้ายปลูกประมาณ 6 เดือน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ตัน/ไร่และหินฟอสเฟตอัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับรองก้นหลุม)

  • สำหรับแหล่งปลูกที่ไม่มีระบบน้ำ ให้ทำการย้ายปลูกในช่วงต้นฤดูฝนด้วยต้นกล้าชาพันธุ์ดีที่มีอายุ 12-18  เดือน ลงปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้น 40 – 50 ซม.(สำหรับแปลงปลูกบนพื้นราบและบนที่ลาดชันที่มีการขุดขั้นบันได) ส่วนแปลงปลูกแบบเจาะหลุมใช้ระยะระหว่างต้น 50 – 60 ซม.(ตามความเหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่)

 

สำหรับแปลงปลูกที่มีระบบน้ำ ควรย้ายปลูกในช่วงกลาง – ปลายฤดูฝน

กรณีที่ใช้ต้นกล้าเปลือยรากปลูก จะต้องทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของต้นกล้าก่อนย้ายปลูกในช่วงต้น- กลางฤดูฝน

การเตรียมหลุมปลูกด้วยการขุดหลุมเป็นร่อง

ควรมีการปลูกพืชบังร่มร่วมด้วยขณะที่ชามีอายุน้อย

  1. การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม

 การควบคุมทรงพุ่ม

หลังย้ายปลูกควรคลุมโคนต้นหรือแปลงปลูก เพื่อป้องกันความชื้น ควรมีการบังร่มแก่ต้นกล้า (กรณีฝนทิ้งช่วงและแดดจัด) เมื่อต้นกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงตัดยอดที่ความสูง 10-15 ซม.

การควบคุมทรงพุ่มในปีที่ 2  ปล่อยให้ต้นชามีการเจริญเติบโตตามปกติในช่วงฤดูฝน จนกระทั่งยอดชาหยุดการเจริญเติบโตในช่วงฤดูหนาว จึงตัดทรงพุ่มที่ระดับความสูง 25-30 ซม.

การควบคุมทรงพุ่มในปีที่ 3 ปล่อยให้ต้นชามีการเจริญเติบโตตามปกติในช่วงฤดูฝน จนกระทั่งยอดชาหยุดการเจริญเติบโตในช่วงฤดูหนาว ตัดทรงพุ่มที่ระดับความสูง 30-35 ซม.

การควบคุมทรงพุ่มในปีที่ 4 ปล่อยให้ต้นชามีการเจริญเติบโตตามปกติในช่วงฤดูฝน จนกระทั่งยอดชาหยุดการเจริญเติบโตในช่วงฤดูหนาว ตัดทรงพุ่มที่ระดับความสูง 40-45 ซม.

ในการตัดแต่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มแต่ละครั้ง ควรนำกิ่งที่ตัดออกไปคัดเลือกสำหรับใช้ขยายพันธุ์เพื่อเป็นการลดต้นทุนสำหรับค่าต้นพันธุ์ชาต่อไป  (การตัดแต่งประจำปีควรทำในช่วง ปลายพฤศจิกายน-ต้นมกราคม)

หมายเหตุ การตัดแต่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มควรตัดแต่งเฉพาะด้านบนของทรงพุ่มเท่านั้น

                

การตัดแต่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มชา

 การตัดแต่งเพื่อเพิ่มผลผลิต

       การตัดแต่งทรงพุ่ม  (Pruning)  การตัดแต่งทรงพุ่มส่วนใหญ่กระทำเพื่อ  ช่วยเพิ่มผลผลิต (เพิ่มพื้นที่ให้ผลผลิตเป็นการรักษาระดับความสูงให้เหมาะสมต่อการจัดการ  ช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง  ช่วยเพิ่มคุณภาพของยอดชาสด

       การตัดแต่งทรงพุ่ม  แบ่งออกเป็น  ระดับ(ภาพที่ 5)  ตามความรุนแรงของการตัดแต่ง  ดังนี้

  • การตัดแต่งให้พุ่มชาอยู่ในแนวระดับเก็บเกี่ยว(Skiffing)

  • การตัดแต่งเพื่อเพิ่มกิ่งก้านและทำความสะอาดทรงพุ่ม(Light  Pruning)

  • การตัดแต่งเพื่อลดระดับความสูงของทรงพุ่มชา(Medium Pruning) 

  • การตัดแต่งเพื่อจัดโครงสร้างทรงพุ่มใหม่(Heavy Pruning)

  •  การตัดแต่งให้ได้ต้นใหม่(Collar Pruning)

       หลังจากจัดทรงพุ่มใหม่ในชาปลูกใหม่เสร็จ (ชาจะมีอายุประมาณ  ปีระดับความสูงของทรงพุ่มประมาณ  40 - 45  ซม.  (ตัดแต่งก่อนฤดูหนาวเมื่อชาพ้นการพักตัวจะเริ่มแตกยอดใหม่   ปล่อยให้ยอดชามีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่  เมื่อถึงช่วงประมาณกลางเดือนเมษายน - ต้นเดือนพฤษภาคม  จึงทำการเก็บยอดชา  ยอดชาที่ได้เรียกว่าชาชุดที่  1 หรือชาหัวปีในแต่ละปีจะเก็บยอดชาได้  4-6  ครั้ง  หลังจากเก็บยอดชาครั้งสุดท้าย (ประมาณปลายเดือนตุลาคม) จึงปล่อยให้ชามีการสะสมอาหารอย่างเต็มที่  ก่อนชาจะพักตัวจึงทำการตัดทรงพุ่มชาให้เหลือความสูงประมาณ  50 - 55  ซมเรียกการตัดแต่งนี้ว่า  Light  Skiffing  (การตัดแต่งนี้เป็นการตัดแต่งประจำทุกปีทุก ๆ ปี ทรงพุ่มชาจะสูงขึ้นประมาณ  10 ซมในทุก ๆ  ปี  (ความสูงทรงพุ่มจะประมาณ  70-80  ซม.)  จึงตัดทรงพุ่มให้เตี้ยลงมาให้เหลือระดับความสูงประมาณ  60  ซมการตัดแต่งนี้เรียกว่า  Deep  Skiffing

     เมื่อชาให้ผลผลิตติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปีและผ่านการตัดแต่งกิ่งหลายครั้ง จะมีกิ่งสั้น ๆ เนื่องจากการตัดแต่งทุกครั้งจะตัดเหนือระดับเดิมเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากเกิดความหนาแน่นของกิ่งสั้น ๆ (ตีนกามากเกินไป  ทำให้การแตกยอดใหม่ของชาลดลง  ดังนั้นจึงควรทำการตัดกิ่งเหล่านี้ทิ้ง  พร้อมทั้งตัดให้เกิดระดับการให้ผลผลิตขึ้นใหม่  ซึ่งกระทำได้โดยการตัดทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ  30 - 50  ซมการตัดแบบนี้เรียกว่า  Medium  Pruning  (ปกตินิยมกระทำทุก  4 - 5  ปี)

       และเมื่อชามีการให้ผลผลิตติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ต้นชาทรุดโทรม ให้ผลผลิตลดลง มีการแตกกิ่งแขนงลดลง  จึงสมควรทำการตัดแต่งเพื่อจัดกิ่งหลักใหม่  โดยตัดแต่งที่ระดับความสูงประมาณ  15 ซมและปล่อยให้ต้นชามีการแตกกิ่งใหม่  เรียกการตัดแต่งนี้ว่า  Heavy Pruning

      ส่วนการตัดแต่งชาที่มีความทรุดโทรมมาก  เพื่อเป็นการทำหนุ่มสาวใหม่ (rejuvinility)  นั้น ไม่มีเวลากำหนดที่แน่นอน  ขึ้นอยู่กับสภาพของต้นชาเป็นหลัก สำหรับชาที่ขาดการดูแลรักษาจะทรุดโทรมเร็วกว่าชาที่มีการดูแลรักษาดี  ซึ่งจำเป็นต้องทำหนุ่มสาวใหม่  (rejuvinility)  ก่อน  โดยการตัดชาทั้งต้นที่ระดับคอดิน  และปล่อยให้มีการแตกกิ่งตั้งทรงพุ่มใหม่  ซึ่งใช้เวลาประมาณ  ปี  จึงจะเริ่มให้ผลผลิตได้ใหม่  การตัดแต่งแบบนี้เรียกว่า  Collar Pruning

รูปแบบการตัดแต่งทรงพุ่มชาแบบต่าง ๆ

 4.  การใส่ปุ๋ย 

ปุ๋ยอินทรีย์ : ใส่ปุ๋ยคอกทุกปีๆ ละ 2 ตัน/ไร่ โดยในช่วงที่เหมาะสำหรับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ช่วงก่อนการตัดแต่งทรงพุ่มประจำปี  เมื่อมีการให้ปุ๋ยอินทรีย์ในช่วงดังกล่าวควรทำการคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นและช่วยเพิ่มอุณหภูมิในดินให้ระบบรากมีการเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูหนาวด้วย

 

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยเคมี : การใส่ปุ๋ย แนะนำให้ใช้ปุ๋ยผสมสูตร 80-24-26 โดยในปีที่ 1 ใส่อัตรา 20 กก./ไร่ ปีที่ 2 ใส่อัตรา 40 กก./ไร่ ปีที่ 3 ใส่ 60 กก./ไร่ หลังจากปีที่ 4 เป็นต้นไปใส่ 80 กก./ไร่ (ช่วงต้นและปลายฤดูฝน)และทุกปีควรใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อยปีละ 2 ตัน(แนะนำให้ใส่ช่วงปลายฤดูฝน)               

5.  การให้น้ำ

       การปลูกชาของเกษตรกรรายทางภาคเหนือของประเทศไทย  ส่วนใหญ่มักไม่คำนึงถึงระบบการให้น้ำแก่ต้นชาในแปลงปลูก  ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว  ระบบการชลประทานแก่พืชในแปลงปลูกควรต้องคำนึงถึงตั้งแต่เริ่มแรก  ทั้งนี้เนื่องจากการปลูกพืชโดยไม่มีระบบชลประทานที่ดี  มักประสบปัญหาการขาดน้ำของชาในระยะที่ชายังมีอายุน้อย และในช่วงฤดูแล้ง  ซึ่งส่งผลให้ชาชะงักการเจริญเติบโตและมีผลผลิตลดลง

                  การให้น้ำแก่แปลงปลูกชากระทำได้หลายวิธี  เช่นการปล่อยน้ำท่วมแปลง  การให้น้ำตามร่องระหว่างแถวปลูก  หรือ  การปล่อยให้น้ำไหลตามความลาดเอียงของขั้นบันได  (ไม่ควรเกิน  เปอร์เซ็นต์ การให้น้ำด้วยระบบพ่นฝอย  หรือการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด

   การให้น้ำในแปลงปลูกชาด้วยระบบพ่นฝอย  (springkler)

6.โรคและการป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญ

โรคใบพุพอง(blister blight)

เชื้อสาเหตุ    เกิดจากเชื้อ Exobasidium vexsans (Massee)
               
อาการของโรค
  จะเห็นเป็นจุดกลมเล็กสีชมพูอ่อนหรือจางบนใบอ่อนของชาในฤดูฝน   ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นถึง 0.5-2.0  เซนติเมตร ตำแหน่งที่เป็นโรคจะมีรอยปูดนูน  บริเวณผิวใบด้านล่างจะมีจุดกลมสีชมพูจางกลายเป็นสีแดงเข้ม  ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวฟู และสีเทาอ่อนในที่สุด   เมื่ออาการของโรคถึงขั้นนี้ ก็ไม่สามารถเก็บใบอ่อนไปใช้ประโยชน์ได้   ด้านบนของผิวใบที่เป็นโรคนี้มีรอยบุ๋มลงไป  
ส่วนด้านล่างของใบจะนูนออกมาและปรากฏเส้นใยของเชื้อราสีขาวฟูชัดเจน เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งแผลที่เป็นโรคจะแห้งเปลี่ยนเป็นสีเทาน้ำตาลเพื่อรอระบาดในฤดูถัดไป

ช่วงเวลาการเข้าทำลาย ฤดูการให้ผลผลิตชา(ระบาดมากในช่วงฤดูฝน)

การป้องกันการกำจัด   สางร่มเงาออกให้เหลือประมาณ 50 %  เด็ดใบที่เป็นโรคและเก็บใบที่ร่วงเผาทิ้ง   และใช้สารเคมีที่สารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ อัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 20  ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วใบชา 8-10 วันต่อครั้งจนโรคหยุดระบาด

โรคใบจุดสีน้ำตาล(Brown blight)

เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อ

        1. Coollectotricum camelliae (Cook) Battler.

         2. Glomerella cingulata (Stonem) S.& Sc.

อาการของโรค        อาการเริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาลแกมเหลืองบนผิวใบชา    ต่อมาอีก 7-10 วัน จุดสีน้ำตาลจะขยายใหญ่และเปลี่ยนเป็นแห้งตาย     ถ้าอาการของโรครุนแรงจะทำให้ใบร่วง   โรคนี้มักเกิดกับใบและยอดอ่อน

การป้องกันกำจัด
  ให้เก็บใบที่เป็นโรคเผาทิ้ง และใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม เช่น เบนโนมิล อัตรา 500 ppm. ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง ประมาณ 3 ครั้งติดต่อกันและใช้สลับกับสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 
ลิตร จะให้ผลดียิ่งขึ้น

        7. แมลงและการป้องกันกำจัดแมลง

มวนยุง(Tea Mosquito Bugs)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Heiopeltis sp.  เป็นแมลงชนิดปากดูด   ตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายยุง  ลำตัว  ปีกและขามีสีดำ  ท้องสีเขียว  กลางหลังจะมีสีเหลือง

ลักษณะการทำลาย 
มวนยุงจะเข้าทำลายทั้งยอดอ่อนและใบเพสลาด โดยใบชาที่ถูกทำลายจะมีรอยแผลเป็นวงเล็ก ๆ หรือเป็นจุด ๆ ทำให้ยอดและใบอ่อน  เมื่อนำมาแปรรูปและชงจะแสดงอาการเป็นวงหรือจุดในกากชา

ช่วงเวลาการเข้าทำลาย ฤดูแล้ง

การป้องกันกำจัด  ทำลายพืชอาศัยอื่น(เช่นชาทอง) ร่วมกับการใช้สารไล่แมลง

เพลี้ยอ่อน (Aphid)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Aphis glycines Glover.  เป็นแมลงศัตรูชาที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตัวอ่อนมีสีเหลืองอมเขียวขนาดเท่ากับหัวไม้ขีดไฟหรือเล็กกว่า เมื่อโตขึ้นจะมีสีคล้ำเป็นสีเขียวหม่นอมเทา ตัวแก่มีสีดำ และมีปีกบินได้

ลักษณะการทำลาย   จะเข้าทำความเสียหายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง และมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ทำให้รู้ว่ามีเพลี้ยอ่อนระบาดนั่นคือ จะมีมดอยู่ตามต้นที่มีเพลี้ยอ่อนทำลาย ชาที่ถูกเพลี้ยอ่อนทำลายยอดจะคลี่ออกไม่เต็มที่ ใบหงิกม้วน ยอดมีสีซีดจาง

ช่วงเวลาการเข้าทำลาย ฤดูแล้ง

การป้องกันกำจัด  ถ้าพบเพลี้ยอ่อนทำลายในปริมาณไม่มากนัก และสภาพอากาศฝนตก (ช่วงฤดูฝน) ไม่ควรตัดสินใจใช้สารเคมี ถ้ามีการระบาดมากให้ใช้เซฟวิน 0.5% อัตราตามคำแนะนำฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม

เพลี้ยไฟ (Thrips)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Scirtothrips dosalis  ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในเนื้อเยื่อของลำต้น และใบไม้

ลักษณะการทำลาย   เพลี้ยไฟสามารถทำลายพืชทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อน ตาดอก ดอก และผลอ่อน ทำให้ยอด ใบอ่อนหงิกงอ ใบแห้งกรอบ ไม่เจริญเติบโต ขอบใบม้วน อาการที่พบส่วนมากถ้าทำลายบางส่วนจะทำให้เกิดแผลเป็นรอยสะเก็ดสีน้ำตาล  ในระยะใบเมื่อเกิดทำลายจะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก

ช่วงเวลาการเข้าทำลาย ช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด  ให้น้ำด้วยระบบพ่นฝอย และเซฟวิน 0.5% การเลี้ยงผึ้งจะเป็นประโยชน์ทางอ้อมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เนื่องจากผึ้งเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของเพลี้ยไฟ

หนอนม้วนใบ (Tea Tortris Catterpillar)
               
ชื่อวิทยาศาสตร์
Homona coffearia (Niether)
               
ลักษณะการทำลาย
 จะทำความเสียหายต่อใบและยอดอ่อนของชา   โดยหนอนจะนำใบมาติดกันแล้วกัดกินใบ ตัวแม่เป็นผีเสื้อกลางคืนออกวางไข่บนใบชาเป็นกลุ่ม ๆ ละ 100 ฟองหรือมากกว่านั้น ไข่จะฟักเป็นตัวบุ้งโตเต็มที่ ยาว 12-20
 มิลลิเมตร เมื่อเข้าดักแด้จะใช้ใบชาสร้างรัง

ช่วงเวลาการเข้าทำลาย  ฤดูการให้ผลผลิตชา(ปลายฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูหนาว)

การป้องกันกำจัด  มีแตนเบียนหลายชนิดลงทำลายแมลงชนิดนี้ในชวา อินโดนีเซีย ในศรีลังกา ได้มีการนำเข้าแมลงเบียน Microcentrus homonae Nixon และทำการตัดแต่งกิ่งชาเป็นประจำทุกปี

 

8. การป้องกันกำจัดวัชพืช

             การกำจัดวัชพืชในชา ทำได้โดย

  • ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว

  • ปลูกพืชแซมในขณะที่ชายังเล็กและทรงพุ่มยังแผ่ไม่ชนกัน

  • ใช้รถหรือเครื่องตัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก

        หมายเหตุ   ไม่ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูชา และวัชพืชโดยไม่จำเป็น

 

9.  การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวในสวน

 9.1 การเก็บเกี่ยว

         การเก็บยอดชาโดยทั่วไปมี  วิธีการ  คือ  การเก็บโดยใช้มือเด็ด  ใช้กรรไกรตัด  และการเก็บยอดชาโดยใช้เครื่องจักร

         การเก็บยอดชาโดยการใช้มือเด็ด  วิธีการนี้นิยมใช้ในสวนชาขนาดเล็ก หรือสวนชาที่ปลูกตามไหล่เขาซึ่งไม่สะดวกต่อการใช้เครื่องจักร  หรือสวนชาที่ต้องการผลิตชาคุณภาพสูงและมีราคาแพง  การเก็บยอดชาโดยวิธีนี้ทำให้สามารถเลือกขนาดของยอดชาได้  แต่เป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานสูง  นอกจากนี้ หากแรงงานที่จ้างมีคุณภาพต่ำ  เช่น  ขาดความรู้ในการเก็บหรือเก็บยอดโดยไม่ระมัดระวัง  จะทำให้ยอชาสดที่ได้มีคุณภาพต่ำไปด้วย  ถ้าหากเป็นแรงงานที่มีความรู้ความสามารถ อัตราค่าจ้างจะสูง  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้สูงตามไปด้วย  นอกจากนี้การเก็บยอดชาด้วยมือ  จะทำให้ความสูงของทรงพุ่มชาหลังการเก็บยอดไม่สม่ำเสมออยากแก่การเก็บยอดในครั้งต่อไป  แต่อย่างไรก็ดี  การเก็บยอดชาด้วยวิธีนี้สามารถเลือกยอดชาที่มีคุณภาพดีไปทำการผลิตชาคุณภาพดีได้  สำหรับแรงงานที่มีคุณภาพสามารถเก็บได้ประมาณ  10 - 15  กก./วัน

        การเก็บยอดชาโดยการใช้กรรไกรตัด  วิธีการนี้นิยมใช้ในสวนชาขนาดเล็ก หรือสวนชาที่ปลูกตามไหล่เขาซึ่งไม่สะดวกต่อการใช้เครื่องจักร  การเก็บยอดชาด้วยวิธีนี้สามารถเก็บยอดได้มากกว่าการเก็บด้วยมือ  แต่ไม่สามารถเลือกขนาดของยอดชาได้  สามารถเก็บได้ประมาณ  60 - 100  กก./วัน

        การเก็บยอดชาโดยใช้เครื่องจักร  วิธีการเก็บยอดชาด้วยเครื่องจักรเหมาะสำหรับสวนที่มีขนาดใหญ่หรือสวนที่ปลูกชาในพื้นที่ที่สามารถใช้เครื่องทุ่นแรงได้  การเก็บยอดชาด้วยเครื่องจักรจะไม่สามารถเลือกขนาดของยอดชาได้  ดังนั้นการเก็บยอดชาด้วยวิธีนี้  จึงต้องกำหนดเวลาการเก็บด้วยการตัดแต่ง  ดังเช่น ในประเทศญี่ปุ่น  หลังจากทำการตัดแต่งในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน  ชาจะพักตัว  และเริ่มแตกยอดใหม่ประมาณเดือนมีนาคม  ยอดใหม่นี้จะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม  เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ดี การจัดการสวนชาด้วยวิธีนี้  จำเป็นต้องมีช่วงเวลาในการจัดการที่แน่นอน

 

การเก็บยอดชาด้วยมือ

 การเก็บยอดชาด้วยเครื่องเก็บยอดชา

  การเก็บยอดชาด้วยรถแทรคเตอร์

9.2 วิทยาการก่อนการเก็บเกี่ยว

9.2.1  การเตรียมการเก็บเกี่ยว

  • พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้เครื่องจักรได้ต้องใช้แรงงานคนเก็บและเตรียมถุงหรือภาชนะสำหรับเก็บยอดชา

  • ทำความสะอาดโรงปฏิบัติงาน และโรงผึ่งยอดชา

9.2.2  การเก็บเกี่ยว :

  • เก็บชาเมื่อมีใบยอด 5-7 ใบ ไม่ต่ำกว่า 70 % ของพื้นที่ทั้งแปลงปลูก

  • เลือกเก็บ 1 ยอดตูม 2 ใบบาน สำหรับชาอื่นๆและชาดำ หรือ 3-4 ใบ สำหรับชาเขียว

9.3 วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว

9.3.1  ชาเขียว      

  • นำยอดชาที่เก็บเกี่ยว 3-4 ใบ มา โดยการคั่วหรืออบไอน้ำทันที

  • อบและนวดอบไอร้อน

  • นวด

  • ขึ้นรูป

  • อบให้แห้งจนเหลือความชื้นไม่เกิน 13%

9.3.2  ชาจีน (ชากึ่งหมัก)  

  • นำยอดชาที่เก็บเกี่ยวได้ (1 ยอดตูม 2 ใบบาน) ผึ่งแดดจนยอดชาเริ่มเหี่ยว

  • นำยอดชามาผึ่งต่อในที่ร่ม ในห้องที่สามารถควบตุมความชื้นและอุณหภูมิได้ เป็นเวลา 8 ชั่วโมง

  • เขย่ากระตุ้นปฏิกิริยาเคมี

  • คั่วหยุดปฏิกิริยาเคมี

  • นวด

  • ขึ้นรูป

  • อบแห้งจนเหลือความชื้นไม่เกิน 13%

9.3.3  ชาฝรั่ง (ชาดำ)

  • นำยอดชาที่เก็บเกี่ยวยอดตูม 2 ใบบาน ผึ่งในร่มจนเหลือความชื้นในยอดชาสด 70-75%

  • ตัดยอดชาด้วยเครื่องตัดชา หรือนวดด้วยเครื่องนวดชา

  • อบแห้งจนเหลือความชื้นไม่เกิน 13%

10. การขนส่ง

  • ยอดชาสดต้องขนส่งโรงงานแปรรูป และนำสู่ขั้นตอนการแปรรูปในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง

 


 

 


Copyright © 2008  Archeep.Com  All rights reserved